การลงทุนหุ้นและกองทุนต่างประเทศ ทางเลือกที่ช่วยกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสทำกำไรที่นักลงทุนไทยหลายคนเลือกใช้ แต่คำถามที่ว่า เมื่อได้กำไรจากการลงทุนต่างประเทศมาแล้ว จำเป็นต้องเสียภาษีไหม? ยังเป็นคำถามยอดนิยมของนักลงทุนอยู่เสมอ รวมถึงในปี 2567 ที่กรมสรรพากรจะมีการปรับกฎการเก็บภาษีจากรายได้ต่างประเทศ แต่จะมีเรื่องใดที่นักลงทุนที่ใช้บริการลงทุนต่างประเทศต้องรู้บ้าง ไปหาคำตอบในบทความนี้กัน
ได้กำไรจากการลงทุนต่างประเทศ จำเป็นต้องเสียภาษีไหม?
สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าหากได้กำไรจากการลงทุนต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีไหม คำตอบก็คือ ต้องเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร เนื่องจากกำไรจากการลงทุน แม้จะเป็นการลงทุนกับทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะหุ้น กองทุน ตราสารหนี้ หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ก็ถือเป็นรายได้ช่องทางหนึ่ง จึงต้องเสียภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนดเหมือนรายได้ช่องทางอื่น ๆ และไม่ว่ารายได้จากการลงทุนต่างประเทศจะเกิดขึ้นในปีภาษีใดก็ตาม จะต้องเสียภาษีในปีที่นำรายได้เข้ามาเท่านั้น
อัตราการเสียภาษีจากการลงทุนต่างประเทศ
เมื่อรู้แล้วว่าการลงทุนต่างประเทศต้องเสียภาษีไหม ต่อไป เรามาทำความเข้าใจกับอัตราการเสียภาษีจากการลงทุนต่างประเทศกันดีกว่า โดยอัตราการเสียภาษีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
อัตราการเสียภาษีในประเทศไทย
สำหรับอัตราการเสียภาษีในประเทศไทย จะคำนวณรายได้จากต่างประเทศเป็นเงินได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกำไรจากการลงทุน, เงินปันผล, ค่าลิขสิทธิ์, ดอกเบี้ยจากการลงทุน และรายได้อื่น ๆ โดยไม่ว่ารายได้จะเกิดขึ้นในปีใด ก็จะถูกนำมาคิดเป็นภาษีในปีที่นำรายได้เข้าประเทศเท่านั้น ซึ่งการเสียภาษีในประเทศไทยจะเริ่มคิดภาษีจากผู้ที่มีเงินได้สุทธิ 150,000 บาทต่อปีขึ้นไป และปรับฐานภาษีขึ้นแบบขั้นบันไดตามตารางนี้
รายได้สุทธิต่อปี | อัตราภาษี | ภาษีสะสมสูงสุดตามขั้นบันได |
---|
0 - 150,000 บาท | ได้รับการยกเว้นภาษี | 0 บาท |
150,001 - 300,000 บาท | 5% | 0 บาท |
300,001 - 500,000 บาท | 10% | 7,500 บาท |
500,001 - 750,000 บาท | 15% | 27,500 บาท |
750,001 - 1,000,000 บาท | 20% | 65,000 บาท |
1,000,001 - 2,000,000 บาท | 25% | 115,000 บาท |
2,000,001 - 5,000,000 บาท | 30% | 365,000 บาท |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% | 1,265,000 บาท |
อัตราการเสียภาษีในประเทศที่ลงทุน
ไม่ว่าจะเป็นคนประเทศอะไร หากเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ ก็ต้องปฏิบัติตามนโยบายการเสียภาษีของประเทศนั้น ๆ โดยประเทศที่นักลงทุนไทยนิยมไปลงทุนจะมีอัตราการเสียภาษีเงินปันผล ณ ที่จ่าย ดังนี้
- ประเทศสหรัฐอเมริกา หักภาษีเงินปันผล ณ ที่จ่าย 15-37%
- ประเทศจีน หักภาษีเงินปันผล ณ ที่จ่าย 10%
- ประเทศญี่ปุ่น หักภาษีเงินปันผล ณ ที่จ่าย 15.315%
- ประเทศฮ่องกง ส่วนใหญ่ไม่หักภาษีเงินปันผล ณ ที่จ่าย แต่หลักทรัพย์ H-Share อาจต้องเสีย
- ภาษีเงินปันผล 10% ขึ้นอยู่ในแต่ละกรณี
- ประเทศเวียดนาม ไม่หักภาษีเงินปันผล ณ ที่จ่าย
ส่วนกำไรจากการขายหุ้นหรือ Capital Gains ในประเทศเหล่านี้จะไม่ถูกนำมาคิดภาษีสำหรับนักลงทุนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศนั้นๆ
อัปเดตกฎการเก็บภาษีรายได้ต่างประเทศจากสรรพากร เริ่มใช้ปี 2567
ในปี 2567 ที่กำลังจะมาถึง กรมสรรพากรได้ปรับกฎการเก็บภาษีรายได้จากต่างประเทศเล็กน้อย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป โดยมีใจความสำคัญที่นักลงทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินต่างประเทศหรือผู้ที่มีรายได้จากต่างประเทศต้องรู้ ดังนี้
- กฎการเก็บภาษีรายได้ต่างประเทศโดยกรมสรรพากร ครอบคลุมผู้ที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันและมีเงินได้จากต่างประเทศ
- ใช้อัตราการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได ตั้งแต่ 5-35% โดยนำรายได้จากทั้งในประเทศและต่างประเทศมารวมกันแล้วใช้ในการคำนวณ
- รายได้จากต่างประเทศในที่นี้ ครอบคลุมถึงเงินปันผลจากหุ้นต่างประเทศ ดอกเบี้ยจากการลงทุนต่างประเทศ และกำไรจากการขายทรัพย์สินในต่างประเทศ
- ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศผ่านบริษัทจัดการกองทุนรวมที่จดทะเบียนในประเทศไทย, ผู้ที่ลงทุนผ่าน Depositary Receipt (DR) หรือมีเงินได้จากการลงทุนต่างประเทศแต่เสียภาษีในประเทศนั้นไปแล้ว โดยที่ประเทศนั้นมีอัตราการเสียภาษีสูงกว่าประเทศไทยและมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับการเก็บภาษีนี้
จากแนวทางเหล่านี้ จะทำให้กรมสรรพากรเก็บภาษีได้มากขึ้น และมีแนวโน้มว่าบริการลงทุนต่างประเทศผ่านการซื้อขายกองทุนรวมและการซื้อขาย DR จะได้รับความนิยมจากนักลงทุนเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้
ได้คำตอบแล้วว่าการลงทุนต่างประเทศต้องเสียภาษีไหม เชื่อว่าหลายคนคงอยากใช้บริการลงทุนต่างประเทศโดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล เพื่อวางแผนการเสียภาษีจากการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพกันแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถรับคำปรึกษาด้านการวางแผนการเงินกับนักวางแผนทางการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ CFP® ได้ที่ Money Adwise ที่จะเป็นเสมือนผู้ช่วยลงทุนในหุ้นและกองทุนต่างประเทศ รวมทั้งทรัพย์สินอื่น ๆ พร้อมพาคุณมุ่งสู่เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการได้อย่างมั่นคง นัดรับคำปรึกษาครั้งแรกฟรี