ผู้เขียน รัฐพล วชิรเมฆากุล CFP®
ไม่ว่าจะเป็นความสุขรูปแบบไหนก็ล้วนเกิดขึ้นจากความสบายใจเรื่องเงินเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องการเกษียณตัวเองจากการทำงาน ซึ่งไม่เพียงแต่จะต้องวางแผนค่าใช้จ่ายรอบด้านอย่างรอบคอบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเท่านั้น แต่ยังต้องเลือกผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เหมาะสมเพื่อสร้างสภาพคล่องในชีวิตประจำวันและนำผลตอบแทนมาสะสมเป็นเงินสำรองไว้ใช้ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ตลอดแผนเกษียณอายุควรมีการปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เลือกลงทุนอยู่เสมอ เนื่องจากสินทรัพย์แต่ละประเภทมีช่วงเวลาในการให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การเลือกลงทุนในสินทรัพย์แบบเดียวอาจไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอต่อความต้องการในระยะยาวได้ ด้วยเหตุนี้ การปรับใช้เทคนิคการลงทุนเพื่อการเกษียณอย่าง Asset Allocation จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้แผนเกษียณอายุของทุกคนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้
หากเปรียบเทียบเงินลงทุนเป็นไข่และประเภทการลงทุนเป็นตะกร้า ถ้าเรานำไข่ทุกฟองไปใส่ในตะกร้าใบเดียวเมื่อเวลาผ่านไป ทิศทางตลาดเปลี่ยน หรือมีปัจจัยแวดล้อมเข้ามากระทบทำให้ตะกร้าใบเดิมเสียหาย และแน่นอนว่าไข่ทุกฟองที่ลงในตะกร้าไว้ทั้งหมดก็อาจได้รับความเสียหายด้วยเช่นกัน หรือกลายเป็นขาดทุนได้โดยไม่ทันตั้งตัว
ด้วยเหตุนี้ การจัดสรรสินทรัพย์ หรือ Asset Allocation จึงเป็นเทคนิคที่ไม่ได้ชวนให้เก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว แต่เป็นการกระจายไข่หลาย ๆ ฟองไปยังตะกร้าหลากหลายใบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงด้านการลงทุน รวมถึงยังเป็นการกระจายโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับสินทรัพย์ในแต่ละช่วงเวลา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีบริหารพอร์ตการลงทุนเพื่อการเกษียณที่ช่วยให้นักลงทุนสร้างผลตอบแทนสูงสุดตามช่วงเวลาและความเสี่ยงที่รับไหวได้เป็นอย่างดี
แม้จะเป็นเทคนิคกระจายการลงทุนให้มีความหลากหลาย แต่ Asset Allocation ก็ไม่ใช่การเดาสุ่ม หรือ เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากและต่ำสุดเพื่อทำให้พอร์ตบาลานซ์ แต่นักลงทุนจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสินทรัพย์แต่ละประเภท อีกทั้งยังต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนทำ Asset Allocation อีกด้วย ซึ่งสามารถเตรียมตัวได้ตามขั้นตอน ดังนี้
การเริ่มลงทุนโดยปราศจากเป้าหมายทางการเงินก็เหมือนกับการเดินไปข้างหน้าโดยไม่รู้จุดหมาย ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการลงทุน ตลอดจนเป็นแนวทางในการเลือกสินทรัพย์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ต้องการ อย่าลืมกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการก่อน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อการเกษียณ การลงทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว หรืออื่น ๆ ตามต้องการ
สินทรัพย์แต่ละประเภท นอกจากจะมีเงื่อนไขในการสร้างผลตอบแทนที่แตกต่างกันแล้ว ยังมีช่วงเวลา สภาวะตลาด อีกทั้งความเสี่ยงที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาความเสี่ยงที่ตนเองรับไหว ตลอดจนศึกษาความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง ซึ่งสามารถพิจารณาเบื้องต้นได้จาก 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้
เมื่อศึกษาความเสี่ยงและเงื่อนไขต่าง ๆ ของสินทรัพย์ที่สนใจแล้ว ในขั้นตอนนี้ นักลงทุนควรเริ่มต้นวางแผนลงทุนโดยพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน ซึ่งจะประกอบไปด้วย
เมื่อลงเงินไปกับการลงทุน เป็นธรรมดาที่ทุกคนอยากเห็นผลตอบแทนในเร็ววัน แต่สำหรับการลงทุนแบบ Asset Allocation นั้น หากตัดสินใจปรับพอร์ตและลงทุนไปแล้ว ขอแนะนำให้ติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด ตลอดจนสร้างวินัยในการลงทุนที่เหมาะสม และติดตามผลการลงทุนไปเรื่อย ๆ ตามแผนที่วางไว้ เพราะหากใจร้อน เร่งรีบปรับเปลี่ยนพอร์ตทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ศึกษาตลาดและสินทรัพย์ให้ดี หรือเปลี่ยนสินทรัพย์การลงทุนไปมา เนื่องจากยังไม่เห็นผลตอบแทนที่ต้องการ ก็อาจทำให้พอร์ตเสียสมดุลและไม่สร้างผลตอบแทนที่ต้องการได้
สำหรับใครที่มีเป้าหมายเป็นการลงทุนเพื่อการเกษียณก็สามารถปรับใช้ Asset Allocation ได้ในหลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็นการปรับสัดส่วนสินทรัพย์การลงทุนตามความเสี่ยง เงินทุน ประสบการณ์ และระยะเวลาการลงทุน
เช่น สามารถเลือกลงทุนกับหุ้นน้อยลง เนื่องจากหุ้นมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง และหันไปเลือกลงทุนกับตราสารหนี้ หรือ พันธบัตรรัฐบาลแทน แต่สำหรับใครที่มีประสบการณ์สูงก็สามารถเลือกปรับสัดส่วนหุ้นให้มากกว่าการลงทุนประเภทอื่นได้ และภายในสัดส่วนการลงทุนหุ้นก็สามารถแบ่งออกเป็นการลงทุนในหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศ ในประเภทต่าง ๆ ได้อีกด้วย
แต่นอกเหนือจากที่อธิบายไปข้างต้นแล้ว นักลงทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนเพื่อการเกษียณยังสามารถปรับใช้ Asset Allocation ได้อีก 3 เทคนิค ซึ่งจะประกอบไปด้วย
Strategic Asset Allocation เป็นการทำ Asset Allocation ที่เน้นสัดส่วนการลงทุนที่หลากหลาย หวังผลการลงทุนในระยะเวลามากกว่า 1 ปี ซึ่งการทำ Strategic Asset Allocation จะครอบคลุมการลงทุนในสินทรัพย์ไทยและต่างประเทศ ประกอบไปด้วยหุ้นและตราสารหนี้
การทำ Strategic Asset Allocation จะมีความคล้ายคลึงกับกลยุทธ์ซื้อแล้วถือยาว (Buy and Hold) แต่แทนที่จะลงทุนและเก็บสินทรัพย์เอาไว้นาน ๆ โดยไม่พิจารณาปัจจัยรอบด้าน นักลงทุนควรพิจารณาการลงทุนตามสัดส่วนของอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในแต่ละสินทรัพย์ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทน นอกจากนี้ นักลงทุนยังควรกำหนดเป้าหมายการลงทุนให้ชัดเจน พร้อมปรับสมดุลพอร์ตของตัวเองเป็นระยะตามอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในแต่ละช่วงเพื่อช่วยให้การใช้กลยุทธ์ Strategic Asset Allocation มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี การทำ Strategic Asset Allocation ต้องอาศัยการติดตามข่าวสารและเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและตลาดมีความผันผวนรุนแรง อาจทำให้เกิดผลขาดทุนที่อาจส่งผลต่อผลตอบแทนในภาพรวมได้
Constant-Weighting Asset Allocation เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เน้นลงทุนในระยะยาวอย่างการลงทุนเพื่อการเกษียณ โดยการทำ Asset Allocation ประเภทนี้จะเน้นการปรับสัดส่วนผลตอบแทนและความเสี่ยงให้กลับมาเป็นสัดส่วนที่ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่แรก
เช่น เมื่อเวลาผ่านไป หากในพอร์ตมีสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนสูงกว่าสัดส่วนตั้งต้นก็ให้ขายออกเพื่อทำกำไร และปรับสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนใหม่โดยการซื้อสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนต่ำกว่าสัดส่วนตั้งต้น ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้พอร์ตกลับมาอยู่ในสัดส่วนที่ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่แรก
Integrated Asset Allocation ถือเป็นการทำ Asset Allocation ที่มีประสิทธิภาพในหลาย ๆ มุมมอง เพราะนอกจากจะสามารถปรับใช้ได้ในการลงทุนระยะสั้น กลาง และยาวแล้ว การลงทุนแบบ Integrated Asset Allocation ยังเป็นการคัดสรรสินทรัพย์ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับไหว เศรษฐกิจ สถานการณ์รอบด้าน ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้งหมดมาพิจารณาด้วย
และไม่เพียงแต่จะมุ่งเน้นปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาเท่านั้น การทำ Integrated Asset Allocation ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนสร้างผลตอบแทนที่เป็นไปได้ในทุกรูปแบบตามประสบการณ์และความสามารถของนักลงทุนเอง ทำให้สามารถปรับสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนได้หลากหลายตลอดเวลา
อย่างไรก็ดี การทำ Asset Allocation ยังมาพร้อมกับรายละเอียดอีกมากมายที่ต้องพิจารณาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความต้องการของนักลงทุน รวมไปถึงเป้าหมายยิบย่อยภายใต้เป้าหมายทางการเงินใหญ่ที่แตกต่างกันไปเช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนที่มีแผนการลงทุนเพื่อการเกษียณจึงควรปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินคุณวุฒิ CFP® เพื่อวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายอย่างรอบด้าน Money Adwise มาพร้อมกับที่ปรึกษาทางการเงินคุณวุฒิ CFP® ที่พร้อมช่วยคุณเริ่มต้นวางแผนเกษียณได้อย่างถูกต้อง รองรับตั้งแต่การเงินส่วนบุคคลไปจนถึงการลงทุนเพื่อการเกษียณที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด นัดปรึกษาครั้งแรกฟรี