ผู้เขียน จิณณรักษ์ เจตน์รังสรรค์ CFP®
สำหรับอายุที่ก้าวเข้าสู่วัย 30 แน่นอนว่าหลายคนเองก็เริ่มหันกลับมาทบทวนกับตัวเองอยู่บ่อยครั้งว่า "อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร" หรือบางคนก็อาจมองภาพไปไกลว่า "ถ้าวันหนึ่งไม่ทำงานแล้ว เราควรจะดูแลการเงินตัวเองอย่างไรให้มีกินมีใช้ไปตลอด" ซึ่งหากใครที่กำลังก้าวเข้าสู่วัย 30 ที่ยังสนุกกับการทำงาน แต่ยังไม่มีเข็มทิศทั้งในเรื่องของการจัดการงาน การเงิน รวมไปถึงจังหวะชีวิตตัวเองให้เหมาะสม วันนี้เราจะขอพา 30 ยังแจ๋วทุกคนไปรู้จัก 4 HOW TO วางแผนการเงินและจัดพอร์ตการลงทุนในวัย 30 ให้มีประสิทธิภาพ เห็นภาพการเงินของตัวเองในอนาคต แต่ไม่กดดันจนเกินไป
เพราะทุกความสำเร็จเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ เช่นเดียวกับความสำเร็จทางการเงินที่ต้องเริ่มต้นจากการทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย โดยทุกคนสามารถสรุปรายการทั้งหมดเป็นวัน สัปดาห์ เดือน และปีให้เห็นถึงนิสัยการใช้เงินของตัวเองทั้งหมด จากนั้นจึงค่อย ๆ พิจารณารายจ่ายแต่ละอย่างว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น (Need) หรือเป็นเพียงความต้องการ (Want) ชั่วคราวกันแน่ ซึ่งสำหรับวัย 30 ที่ยังไม่รู้จักนิสัยการเงินของตัวเอง หรือยังไม่มีเงินเก็บเป็นของตัวเองทั้ง ๆ ที่มีรายได้สูง การทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายนี้จะช่วยตอบข้อสงสัย และช่วยชี้ช่องให้มีเงินเหลือเก็บเพื่อไปต่อยอดด้านอื่น ๆ ได้
ไม่เพียงแต่จะรู้จักนิสัยทางการเงินของตัวเองเท่านั้น แต่ชาววัย 30 ทุกคนต้องรู้จักวิธีพิจารณาความอยู่รอดทางการเงินของตัวเองอีกด้วย ซึ่งการจะวัดได้ว่า “นิสัยทางการเงินของตัวเอง” และ “รายรับที่มี” จะสามารถสร้างความอยู่รอดทางการเงินได้นั้นสามารถคำนวณได้จาก “อัตราส่วนความอยู่รอด” หรือ “Survival Ratio” ซึ่งจะมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
อัตราส่วนความอยู่รอด = รายได้จากการทำงานหลังหักภาษี + รายได้จากทรัพย์สินรายจ่าย รายจ่าย |
หลังจากการคำนวณอัตราส่วนความอยู่รอดด้านบนแล้ว เราจะสามารถอ่านผลได้ง่าย ๆ โดยใช้เลข 1 เป็นเกณฑ์ ดังนี้
หากได้ผลลัพธ์มีค่าน้อยกว่า 1 = รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
หากได้ผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ 1 = รายได้เท่ากับรายจ่ายพอดี
หากได้ผลลัพธ์มีค่ามากกว่า 1 = รายได้มีมากกว่ารายจ่าย
ตัวอย่างเช่น:
นาย Money เป็นพนักงานระดับผู้จัดการที่มีรายได้หลังหักภาษีแล้วทั้งหมดอยู่ที่ 1,000,000 บาท/ปี และจัดพอร์ตการลงทุนจนทำให้มีรายได้จากสินทรัพย์หลังหักภาษีอยู่ที่ที่ปีละ 50,000 บาท อีกทั้งยังมีรายได้จากการปล่อยเช่าคอนโดปีละ 250,000 บาท และจากบัญชีรายรับ - รายจ่ายแต่ละปี นาย Money มีรายจ่ายทั้งหมดอยู่ที่ปีละ 750,000 บาท
ดังนั้น อัตราส่วนความอยู่รอดของนาย Money = (1,000,000 + 50,000 + 250,000) 750,000 = 1.73 เท่า
จะเห็นได้ว่า นาย Money มีอัตราส่วนความอยู่รอดอยู่ที่ 1.73 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 ก็แปลว่า ด้วยรายได้ทั้งหมดนี้ นาย Money จะมีเงินเหลือใช้ ซึ่งหากนาย Money อยากมีเงินเหลือเก็บไปใช้ส่วนอื่นเพิ่มเติมก็สามารถปรับลดรายจ่ายของตัวเองได้เช่นกัน
การอยู่รอดทางการเงินเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีอิสรภาพทางการเงินเพื่อนำไปสู่การเกษียณอายุในแบบที่ตั้งใจได้ ดังนั้น ชาววัย 30 ทุกคนยังต้องรู้จัก “ความมั่งคั่ง” หรือ “Wealth” ด้วย
หลายคนอาจมองว่า ความมั่งคั่งนั้นหมายถึงการมีทรัพย์สินมาก ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การมีทรัพย์สินในบางครั้งก็มาพร้อมกับหนี้สินที่คอยปิดโอกาสที่จะมีอิสรภาพทางการเงินเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ความมั่งคั่งสุทธินั้นจะสามารถคำนวณได้จาก
ความมั่งคั่งสุทธิ = มูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งหมด - หนี้สินรวมทั้งหมด |
จะเห็นได้ว่า หากทรัพย์สินมีมูลค่ามากกว่าหนี้สิน และมีโอกาสสร้างรายได้ต่อเนื่องได้ ความมั่งคั่งสุทธิก็จะยิ่งมีสูงขึ้น และหากยิ่งรวมกำลังในการสร้างรายได้จากแรงงานของตัวเองในขณะที่ยังสามารถทำงานได้อยู่ ความมั่งคั่งก็จะยิ่งสูงขึ้นไป และทำให้สะสมโอกาสในการมีอิสรภาพทางการเงินได้
นอกจากนี้ การพิจารณาโอกาสที่จะมีอิสรภาพทางการเงินยังคำนวณได้จาก Wealth Ratio หรืออัตราส่วนความมั่งคั่งอีกด้วย โดยการคำนวณในส่วนนี้จะมีความคล้ายกับการคำนวณ Survival Ratio แต่จะตัดรายได้จากการทำงานออกไป
หากลองใช้ตัวอย่างเดิมของนาย Money ข้างต้นก็จะพบว่า หากไม่มีรายได้จากการทำงานเลย นาย Money จะมีรายได้จากสินทรัพย์ ซึ่งก็คือการลงทุนและอสังหาริมทรัพย์จากคอนโดอยู่ที่ปีละ 50,000 + 250,000 = 300,000 บาทเท่านั้น ซึ่งหากหารด้วยรายจ่ายที่สูงกว่า 750,000 บาทต่อปีก็เท่ากับว่านาย Money จะมีอัตราส่วนความมั่งคั่งอยู่ที่ 300,000 750,000 = 0.4 ดังนั้น ก็แปลว่า หากนาย Money ไม่ได้ทำงานแล้ว หากไม่จัดพอร์ตการลงทุนเอาไว้ หรือหาแนวทางการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม โอกาสในการมั่งคั่งด้วยตัวเองและการมีอิสรภาพทางการเงินก็จะมีน้อยลง
เพื่อเปิดให้ชาววัย 30 ที่มีรายได้สูงและยังมีกำลังในการทำงานต่อได้เข้าถึงอิสรภาพทางการเงินและความมั่งคั่งเพื่อเกษียณตัวเองจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนวัย 30 ทุกคนสามารถเข้าสู่สนามลงทุนด้วยตัวเองได้จากการรู้จัก 4 ประเภทของการลงทุนแบบพื้นฐานก่อน ซึ่งสามารถพิจารณารายละเอียดได้ ดังนี้
ประเภทการลงทุน | ตัวอย่าง | ข้อควรรู้ก่อนลงทุน | วิธีคำนวณผลตอบแทนต่อปี |
อสังหาริมทรัพย์ | บ้าน ที่ดิน คอนโด | ใช้ทุนในการซื้อสูง สภาพคล่องต่ำ อาจเสียค่าดูแล เช่น ค่าซ่อม ค่าส่วนกลางในแต่ละปี | รายได้ระหว่างการถือครองต่อปี + (ราคาซื้อ - ราคาขาย) ราคาซื้อ |
สังหาริมทรัพย์ | ทองคำ อัญมณี | สภาพคล่องดี เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ไว แต่ราคามีความผันผวนสูง | |
สินทรัพย์ในตลาดเงิน | เงินฝากธนาคาร ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญากับบริษัทเอกชน | ต้องเสียภาษี มูลค่าเปลี่ยนแปลงตามเศรษฐกิจ เช่น หากเป็นเงินฝากในขณะเงินเฟ้อ มูลค่าเงินก็จะลดลงตาม นอกจากนี้ หากเป็นการซื้อตั๋วเงินก็จะมีความเสี่ยงด้านการลงทุนเพิ่ม | ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ เงื่อนไขของธนาคาร หากเป็นตั๋วเงินก็จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้ออก |
สินทรัพย์ในตลาดทุน | หุ้น กองทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ สกุลเงินดิจิทัล | มีโอกาสได้รายได้ประจำ เช่น การซื้อ กองทุนรวมแบบปันผล แต่การลงทุนเช่นนี้ต้องรู้จักบริหารความเสี่ยงเป็นอย่างมาก และต้องเข้าใจนโยบายการลงทุนเฉพาะ | รายได้ระหว่างการถือครองต่อปี + (ราคาซื้อ - ราคาขาย) ราคาซื้อ โดยรายได้ระหว่างการถือครองประกอบไปด้วยดอกเบี้ย เงินปันผล การขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ และกำไรส่วนเกินจากการซื้อขายที่เกิดขึ้นในพอร์ตการลงทุน |
แต่อย่างไรก็ดี ทุกการลงทุนข้างต้นล้วนมีความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนในแต่ละช่วงเวลาด้วย ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนจัดพอร์ตการลงทุนของตัวเองได้อย่างครอบคลุม สามารถเริ่มต้นได้จากการศึกษารายละเอียดของแต่ละผลิตภัณฑ์ พร้อมพิจารณาความเสี่ยงที่ตัวเองรับไหว เช่น หุ้นและกองทุนจะให้รายรับประจำได้ แต่หากไม่ศึกษาและเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง โอกาสในการสร้างผลตอบแทนก็จะยิ่งยากขึ้น เป็นต้น
เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าจังหวะชีวิตไหนจะนำพาอะไรมาให้บ้าง ด้วยเหตุนี้ เมื่อก้าวสู่วัย 30 ที่กำลังทำงานอย่างสนุกเมื่อไหร่ เมื่อนั้นจึงเป็นจุดสตาร์ทการวางแผนทางการเงินเพื่อก้าวเข้าสู่วัยเกษียณที่มีอิสรภาพทางการเงินและมั่งคั่งได้ อย่าลืมนำ HOW TO ทั้ง 4 ข้อที่นำมาฝากนี้ไปปรับใช้เพื่อวางแผนการเงินการลงทุนให้ลงตัวมากขึ้น
แต่สำหรับใครที่อยากสนุกไปกับงาน และกำลังมองหาทางเลือกที่ช่วยลดความกังวลในเรื่องของอนาคตลงไปอีกขั้น Money Adwise พร้อมช่วยคุณจัดพอร์ตการลงทุนอย่างลงตัวด้วยบริการวางแผนการลงทุนที่จะช่วยให้คุณสามารถบริหารจังหวะชีวิต พร้อมวางแผนการเงินของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ปรึกษาวางแผนการเงินการลงทุนกับนักวางแผนการเงิน CFP และผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตวางแผนการลงทุน (Investment Planning : IP) ได้ฟรีครั้งแรกที่ Line : @MoneyAdwise (มี @ ด้วย) หรือคลิกนัดปรึกษาครั้งแรกเพื่อรับฟังรายละเอียดบริการวางแผนการเงิน