การเสียภาษี ถือเป็นหน้าที่สำคัญของคนไทยผู้มีรายได้ทุกคน เพื่อให้รัฐบาลนำเงินภาษีเหล่านั้นมาใช้หมุนเวียนและพัฒนาประเทศ แต่จะเสียภาษีเป็นเงินเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้และค่าใช้จ่ายที่เข้าเกณฑ์ในการลดหย่อนภาษี และไม่เพียงแต่ผู้ที่มีแหล่งรายได้ในประเทศไทยเท่านั้นที่ต้องเสียภาษี แต่ชาวไทยที่มีรายได้จากต่างประเทศ ก็ต้องเสียภาษีตามกฎหมายที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ด้วยเช่นกัน
โดยปกติแล้ว หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 หลักการด้วยกัน ได้แก่
จากหลักการข้างต้น ผู้ที่มีรายได้จากต่างประเทศและพำนักในประเทศไทยเกิน 180 วันจึงจะเข้าเกณฑ์ต้องจ่ายภาษีตามหลักถิ่นที่อยู่ ซึ่งรายได้จากต่างประเทศที่ต้องเสียภาษีก็มีอยู่หลายช่องทาง แต่ที่พบได้ทั่วไป จะมีอยู่ 5 ช่องทางเหล่านี้
หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการทำงานในต่างประเทศทุกรูปแบบ เช่น การทำงานเป็นที่ปรึกษา การทำงานระยะสั้น รวมถึงการทำงานแบบออนไลน์ให้บริษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในต่างประเทศด้วย
เป็นรายได้ที่เกิดจากการขายสินทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น อสังหาริมทรัพย์ หุ้น หรือทรัพย์สินดิจิทัล แต่ในกรณีที่ได้กำไรจากการขายสินทรัพย์และเสียภาษีในต่างประเทศไปแล้ว สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีซ้อนตามอนุสัญญาภาษีซ้อนได้
เงินปันผลที่ได้รับจากการถือครองหุ้นในต่างประเทศ เช่น หุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างชาติ ก็ถือเป็นรายได้จากต่างประเทศที่ต้องเสียภาษีเช่นกัน โดยสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายในประเทศต้นทางได้ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน และอัตราภาษีเงินปันผลของไทย สูงสุดอยู่ที่ 10%
หากเป็นคนไทยที่มีใบอนุญาตทำงานในต่างประเทศ (Work Permit) สามารถเปิดบัญชีเงินฝากได้ จะถือว่าดอกเบี้ยจากเงินฝากในบัญชีธนาคารต่างประเทศหรือจากการลงทุนในตราสารหนี้ของต่างชาติ เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเช่นกัน แต่หากดอกเบี้ยถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในต่างประเทศแล้ว สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีซ้อนได้
รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ทุกชนิด เช่น ลิขสิทธิ์เพลง งานเขียน สิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า ที่เกิดจากการใช้งานในต่างประเทศ กรณีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในต่างประเทศ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนตามอนุสัญญาภาษีซ้อนได้เช่นเดียวกัน
ในปี 2566 กรมสรรพากรได้ออกประกาศฉบับ ป.161/2566 และ ป.162/2566 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศ โดยกำหนดให้ผู้ที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันขึ้นไปในปีภาษีนั้น (1 มกราคม - 31 ธันวาคม) จะต้องนำรายได้ที่เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกัน มาคำนวณภาษีทั้งหมด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
ผู้ที่มีรายได้จากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า 5-35% โดยคำนวณจากฐานเงินได้สุทธิ ตามตารางด้านล่างนี้ และสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนภาษีได้ที่บทความ 3 วิธีการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประหยัดภาษีแบบถูกกฎหมาย
เงินได้สุทธิ | อัตราภาษี | จำนวนภาษีสูงสุด (บาท) |
---|---|---|
0 - 150,000 บาท | ได้รับการยกเว้นภาษี | 0 |
150,001 - 300,000 บาท | 5% | 7,500 |
300,001 - 500,000 บาท | 10% | 20,000 |
500,001 - 750,000 บาท | 15% | 37,500 |
750,001 - 1,000,000 บาท | 20% | 50,000 |
1,000,001 - 2,000,000 บาท | 25% | 250,000 |
2,000,001 - 5,000,000 บาท | 30% | 900,000 |
5,000,000 บาทขึ้นไป | 35% | ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิ |
ไม่ว่าจะมีรายได้จากต่างประเทศหรือในประเทศ การวางแผนเสียภาษีอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นเรื่องสำคัญ บริหารจัดการภาษีของคุณอย่างโปร่งใสเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง ลงทะเบียนรับคำปรึกษาด้านการวางแผนภาษีและการวางแผนการเงินส่วนบุคคลกับที่ปรึกษาการเงินของ Money Adwise ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดโดยนักวางแผนการเงินคุณวุฒิ CFP® ปรึกษาครั้งแรก ไม่มีค่าใช้จ่าย
ข้อมูลอ้างอิง:
อัปเดตภาษีเงินได้ต่างประเทศล่าสุด ก่อนวางแผนนำเงินกลับประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/grow-your-wealth/taxes-from-foreign-income.html
เกณฑ์ใหม่จากสรรพากร ! นำรายได้จากต่างประเทศ เข้าไทยปีไหน เสียภาษีปีนั้น เริ่มมีผล 1 ม.ค. 67. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 จาก https://miceoss.tceb.or.th/new-tax-criteria-from-the-revenue-department-3/
คำถาม - คำตอบ เรื่อง การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.rd.go.th/fileadmin/download/news/question_p161_162.pdf