ย่อยเรื่องภาษีบริษัทที่น่าปวดหัวให้เข้าใจง่าย ๆ ที่นี่เลย !

เจ้าของธุรกิจกำลังคำนวณอัตราภาษีนิติบุคคล

คู่มือภาษีบริษัทฉบับผู้ประกอบการ ตอบครบที่เดียว

นอกจากการบริหารธุรกิจให้ได้กำไร ดูแลพนักงาน และวางแผนดำเนินงานในอนาคตแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้ผู้ประกอบการปวดหัวไม่แพ้กันคือ ภาษีบริษัท เพราะนี่คือหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องจัดการอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังมีรายละเอียดที่ค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาเป็นคู่มือช่วยผู้ประกอบ

ทำไมเจ้าของธุรกิจถึงควรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ?

คำถามแรกที่หลายคนสงสัยคือ ทำไมต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลด้วย? คำตอบง่าย ๆ คือ เพื่อประโยชน์ทางภาษีนั่นเอง ! โดยหากธุรกิจมีกำไรสุทธิมากกว่า 750,001 บาท การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้มากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีบริษัทเริ่มต้นที่ 15% และสูงสุดอยู่ที่ 20% เท่านั้น ในขณะที่บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีสูงถึง 35% เลยทีเดียว

อัตราภาษีนิติบุคคล

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เรามาดูตารางเปรียบเทียบอัตราภาษีนิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันก่อน -- จากตารางนี้ จะเห็นได้ว่าการเป็นนิติบุคคลสามารถช่วยประหยัดภาษีได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าถามว่า หากมีเงินเข้าบัญชีเกิน 2 ล้าน ต้องเสียภาษีเท่าไร ? คำตอบจะเป็นดังนี้ 

เงินได้สุทธิ / กำไรสุทธิอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
0 - 150,000 บาทได้รับการยกเว้นภาษีได้รับการยกเว้นภาษี
150,001 - 300,000 บาท5%ได้รับการยกเว้นภาษี
300,001 - 500,000 บาท10%15%
500,001 - 750,000 บาท15%15%
750,001 - 1,000,000 บาท20%15%
1,000,001 - 2,000,000 บาท25%15%
2,000,001 - 3,000,000 บาท30%15%
3,000,001 - 5,000,000 บาท30%20%
5,000,001 บาทขึ้นไป35%20%
 

จากตารางนี้ จะเห็นได้ว่าการเป็นนิติบุคคลสามารถช่วยประหยัดภาษีได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าถามว่า “หากมีเงินเข้าบัญชีเกิน 2 ล้าน ต้องเสียภาษีเท่าไร ?” คำตอบจะเป็นดังนี้

  • บุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีในอัตรา 30%
  • สำหรับนิติบุคคล ถ้าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นกำไร ก็จะเสียภาษีเพียง 15% เท่านั้น

 

การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากภาษีบริษัทในรูปแบบเงินได้แล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้ประกอบการห้ามลืมโดยเด็ดขาดคือการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กล่าวคือ ถ้าธุรกิจมีรายได้สุทธิเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ตามกฎหมายจำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาท และเริ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายได้ส่วนที่เกินมา

ข้อควรระวัง: หากเจ้าของกิจการไม่ปฏิบัติตามกฎข้อนี้ จะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากกรมสรรพากร ซึ่งอาจทำให้คุณต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น

อัตราภาษีนิติบุคคลคำนวณอย่างไร ?

  1. อัตราภาษีนิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ ซึ่งกำไรสุทธิ = รายได้ - รายจ่าย โดยรายได้และรายจ่ายต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
  2. รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการคำนวณภาษีบริษัท จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้ เช่น 1 มกราคม - 31 ธันวาคม หรือ 1 เมษายน 2556 - 31 มีนาคม 2566 ก็ได้
  3. เกณฑ์สิทธิ การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องใช้เกณฑ์สิทธิ ซึ่งหมายความว่า:
    • รายได้: ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระเงินจริง
    • รายจ่าย: ให้นำรายจ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับรายได้นั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่าย แม้จะยังไม่ได้จ่ายเงินจริงในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

ดังนั้น ถ้าบริษัทออกใบแจ้งหนี้ให้ลูกค้าในเดือนธันวาคม แต่ยังไม่ได้รับเงิน คุณต้องนำรายได้นี้มาคำนวณในปีภาษีปัจจุบัน ไม่ใช่ปีที่ได้รับเงินจริง

การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีบริษัท

การยื่นแบบและชำระภาษีบริษัทแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ ดังนี้

  1. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ
    • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสิ้นเดือนที่ 6 ของรอบระยะเวลาบัญชี
    • คำนวณจากประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี หารด้วย 2
    • ชำระภาษีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของภาษีที่ต้องชำระทั้งปี
  2. การเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบ
    • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
    • คำนวณจากกำไรสุทธิจริงตลอดรอบระยะเวลาบัญชี
    • ชำระภาษีส่วนที่เหลือทั้งหมด (หักด้วยภาษีที่ชำระไว้ครึ่งปีแล้ว)

จัดการเรื่องภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ ปรึกษา Money Adwise

เมื่อได้ทราบแล้วว่าธุรกิจส่วนตัวต้องเสียภาษียังไง ในอัตราเท่าไร ผู้ประกอบการท่านใดอยากให้การจ่ายภาษีมีประสิทธิภาพที่สุด ไม่มีเรื่องต้องกังวลใจ การมีที่ปรึกษาทางการเงินที่เชี่ยวชาญมาเป็นผู้ช่วยวางแผนทางการเงินก็จะช่วยให้คุณอุ่นใจได้มากขึ้น โดยขอแนะนำนักวางแผนทางการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ CFP® จาก Money Adwise พร้อมช่วยคุณวางแผนการเงินและจัดการภาษีอย่างตอบโจทย์กับเป้าหมายที่วางไว้ ส่งคำขอนัดปรึกษาฟรีผ่านทางเว็บไซต์ได้เลย

ข้อมูลอ้างอิง

ความรู้เรื่องภาษีที่นิติบุคคลควรทราบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 จาก https://www.rd.go.th/
คู่มือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SME. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 จาก https://www.rd.go.th/ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้