การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่ในบางครั้ง เราอาจเสียภาษีไปมากกว่าที่ควรจะเป็นจากการหักภาษี ณ ที่จ่าย รวมถึงกรณีอื่น ๆ ดังนั้น การขอคืนภาษีจึงเป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีพึงมี อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจสอบคืนเงินภาษี ว่าจะตรวจสอบได้อย่างไร ผ่านช่องทางไหน ใช้ระยะเวลานานเท่าไร หรือแม้กระทั่ง เงินที่ได้คืนจะต้องเสียภาษีอีกหรือไม่ ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาตอบ 5 ข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจสอบคืนเงินภาษีในสไตล์ Q&A ติดตามได้เลย
A: หากต้องการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการติดตามคืนภาษี สามารถทำได้ 2 ช่องทางหลัก ๆ คือ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ซึ่งจะมีข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับการตรวจสอบคืนเงินภาษีให้เข้าไปศึกษากันด้วย และอีกช่องทางคือ ติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในแบบแสดงรายการภาษีที่ยื่นไป เจ้าหน้าที่จะให้ข้อมูล และตอบข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน
A: ปัจจุบันกรมสรรพากรจะคืนเงินภาษีเข้า 2 ช่องทางคือ
A: ถ้าเอกสารประกอบการยื่นภาษีครบถ้วน ไม่มีข้อผิดพลาด กรมสรรพากรจะพิจารณาคืนเงินภาษีภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน นับจากวันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อขอคืนภาษี อย่างไรก็ตาม หากมีการขอข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติม ระยะเวลาก็อาจจะเลื่อนออกไปตามความเหมาะสม
A: สำหรับกรณีที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ 91 เพื่อขอคืนภาษี แต่เมื่อตรวจสอบคืนเงินภาษี แล้วพบว่าไม่ได้รับเงินคืนตามจำนวนที่ขอ หรือได้รับคืนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าไม่เห็นด้วยกับการคำนวณและพิจารณาคืนภาษีดังกล่าว สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ โดยทำหนังสืออุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับเงินคืนหรือหนังสือแจ้ง เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องพิจารณา รวมถึงชี้แจงรายละเอียดเหตุผลให้ทราบอย่างชัดเจนอีกครั้ง
A: ประเด็นนี้หลายคนมักเกิดความสับสน เพราะเข้าใจว่าเงินที่ได้รับคืนจากการขอคืนภาษี จะถูกนับรวมเป็นรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีอีกรอบ ซึ่งจริง ๆ แล้ว เงินจำนวนนี้ถือเป็นเงินที่เราได้เสียภาษีไปแล้วในครั้งแรก ดังนั้นเมื่อได้รับคืนมา จึงไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีซ้ำอีก ถือเป็นเงินที่เราได้รับคืนมาแบบเต็มจำนวนนั่นเอง
จะเห็นได้ว่า การตรวจสอบคืนเงินภาษีและติดตามคืนภาษีนั้นไม่ใช่เรื่องยาก หากเรามีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับช่องทางการติดตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ ตลอดจนสิทธิที่พึงมีหากเกิดข้อโต้แย้งใด ๆ และที่สำคัญ เมื่อได้รับเงินภาษีคืนมาแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะโดนหักภาษีซ้ำแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในการรับเงินคืนภาษี นั่นคือการลงทะเบียนบัญชีพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพราะถ้ามีการคืนเงินภาษี กรมสรรพากรจะโอนเงินเข้าบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรับเช็คที่ธนาคาร และที่สำคัญคือ สามารถตรวจสอบสถานะการโอนและรับเงินได้ตลอดเวลาผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร ถือเป็นอีกช่องทางที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ประชาชนได้ไม่น้อย
นอกจากเรื่องการตรวจสอบคืนเงินภาษีและติดตามคืนภาษีที่ควรรู้ไว้ ใครที่อยากให้การจ่ายภาษีมีประสิทธิภาพที่สุด ไม่มีเรื่องต้องกังวลใจ การมีที่ปรึกษาทางการเงินที่เชี่ยวชาญมาเป็นผู้ช่วยให้คุณวางแผนภาษีอย่างอุ่นใจยิ่งขึ้น ขอแนะนำนักวางแผนทางการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ CFP® จาก Money Adwise พร้อมช่วยคุณวางแผนการเงินและจัดการภาษีอย่างตอบโจทย์กับเป้าหมายที่วางไว้ ลงทะเบียนนัดปรึกษาครั้งแรก ไม่มีค่าใช้จ่าย
ข้อมูลอ้างอิง