อยากลงทุนให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว สร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกเหนือจากการติดตามข่าวสารด้านการเงิน การลงทุน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจ และทักษะการจับจังหวะให้ลงทุนได้ถูกที่ ถูกเวลาแล้ว อีกหนึ่งทักษะที่นักลงทุนขาดไม่ได้ คือการบริหารจัดการพอร์ตอย่างมีประสิทธิภาพ
และหากอยากให้การลงทุนของคุณเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง บทความนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีจัดพอร์ตแบบ TAA และ SAA มาบอกกัน แต่ละวิธีคืออะไร มีจุดเด่นและรายละเอียดใดที่ต้องรู้บ้าง มาหาคำตอบได้ที่นี่เลย
การทำ Asset Allocation หรือที่บางคนเรียกว่าการจัดพอร์ตการลงทุน คือ การกระจายเงินลงทุนในทรัพย์สินหลาย ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ เงินฝาก หรือทรัพย์สินอื่น ๆ เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีความสมดุล สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้และผลตอบแทนที่ต้องการ ซึ่งมีความสำคัญต่อการลงทุน ดังนี้
กล่าวได้ว่าการทำ Asset Allocation ถือเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม หากต้องการลงทุนอย่างมั่นคงในระยะยาว เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงจากสภาวะตลาดที่ผันผวนได้เป็นอย่างดี ส่วนกลยุทธ์การทำ Asset Allocation จะมีอะไรบ้าง เรามีคำตอบมาฝากกันในลำดับถัดไป
การจัดพอร์ตแบบ Tactical Asset Allocation หรือ TAA คือการจัดสรรพอร์ตในเชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลตอบแทนและลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ซึ่งหัวใจสำคัญของกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ TAA จะเป็นการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจ ภาวะตลาด และปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มในระยะสั้นถึงปานกลาง หรือไม่เกิน 1 ปี จากนั้นจึงปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น โดยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนดี และปรับสัดส่วนสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มว่าจะขาดทุนลง
ข้อดีของการจัดพอร์ตด้วยวิธีนี้ คือช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนการลงทุนในระยะสั้น ตามความเปลี่ยนแปลงของตลาด และลดความเสี่ยงการขาดทุนจากสภาวะตลาดที่ผันผวนได้อย่างทันท่วงที
กลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ Strategic Asset Allocation หรือ SAA คือ การกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ในระยะยาว เช่น หุ้น พันธบัตร ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ โดยจะพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการลงทุน ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ สภาพคล่องที่ต้องการ และผลตอบแทนที่คาดหวังเป็นหลัก ความถี่ในการทบทวน และการปรับพอร์ตที่เหมาะสมในระหว่างไตรมาสละครั้งจนถึงปีละครั้ง เพื่อปรับพอร์ตให้คงที่ในระยะยาว จึงมีต้นทุนที่น้อยกว่าการปรับพอร์ตแบบ TAA
สำหรับข้อดีของกลยุทธ์ SAA จะอยู่ที่การสร้างผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว ช่วยลดความเสี่ยงในการเข้าซื้อช่วงที่ทรัพย์สินมีราคาแพง และขายออกในช่วงที่ทรัพย์สินมีราคาถูก ทำให้เกิดวงจรของการซื้อถูก-ขายแพงโดยธรรมชาติ รวมถึงทำให้พอร์ตการลงทุนของคุณมีเสถียรภาพมากขึ้น
โดยสรุปแล้ว TAA เน้นการปรับพอร์ตลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ในระยะสั้น ในขณะที่ SAA เป็นการวางกรอบการลงทุนระยะยาวตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ TAA จึงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยกว่าและมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการจัดพอร์ตแบบ SAA นอกจากนี้ การทำ TAA ยังอาจมีความเสี่ยงที่จะตัดสินใจผิดพลาดได้อีกด้วย ทั้งนี้ จะเลือกใช้กลยุทธ์แบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคนนั่นเอง
ได้รู้กันไปแล้วว่า การจัดพอร์ตด้วยวิธี TAA และ SAA คืออะไร และแต่ละวิธีมีจุดเด่นอย่างไรบ้าง สำหรับใครที่กำลังวางแผนจัดพอร์ตการลงทุนอยู่ แล้วไม่รู้ว่าจะเลือกใช้กลยุทธ์ TAA หรือ SAA ดี คุณสามารถพิจารณาเลือกได้จาก 3 หลักเกณฑ์ด้วยกัน ดังนี้
ระยะเวลาการลงทุน ควรสอดคล้องกับเป้าหมายในการลงทุน เพื่อนำไปสู่การเลือกกลยุทธ์การจัดพอร์ตได้อย่างเหมาะสม โดยหากคุณเน้นการทำกำไรหรือลงทุนในระยะสั้น กลยุทธ์ TAA จะเหมาะสมกว่า เนื่องจากเป็นการปรับพอร์ตอย่างต่อเนื่อง จึงใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดีกว่า ส่วนกลยุทธ์ SAA จะเน้นการจัดสรรสินทรัพย์ตามนโยบายระยะยาว จึงเหมาะกับการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว เช่น การลงทุนเพื่อการเกษียณ การลงทุนเพื่อเป็นมรดกให้ลูกหลาน ระยะเวลาการลงทุน ควรสอดคล้องกับเป้าหมายในการลงทุน เพื่อนำไปสู่การเลือกกลยุทธ์การจัดพอร์ตได้อย่างเหมาะสม โดยหากคุณเน้นการทำกำไรหรือลงทุนในระยะสั้น กลยุทธ์ TAA จะเหมาะสมกว่า เนื่องจากเป็นการปรับพอร์ตอย่างต่อเนื่อง จึงใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดีกว่า ส่วนกลยุทธ์ SAA จะเน้นการจัดสรรสินทรัพย์ตามนโยบายระยะยาว จึงเหมาะกับการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว เช่น การลงทุนเพื่อการเกษียณ การลงทุนเพื่อเป็นมรดกให้ลูกหลาน
สินทรัพย์แต่ละประเภทก็มีวัฏจักรที่แตกต่างกันออกไป หากคุณอยากทำกำไรจากความเปลี่ยนแปลงของตลาดด้วยกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ TAA แนะนำว่าควรศึกษาวัฏจักรและความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์นั้น ๆ ให้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับพอร์ตได้อย่างเหมาะสม แต่ในทางกลับกัน หากคุณยังเป็นนักลงทุนมือใหม่ ขาดความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์วัฏจักรสินทรัพย์ การใช้กลยุทธ์ SAA ที่คงสัดส่วนการลงทุนค่อนข้างคงที่ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ สินทรัพย์แต่ละประเภทก็มีวัฏจักรที่แตกต่างกันออกไป หากคุณอยากทำกำไรจากความเปลี่ยนแปลงของตลาดด้วยกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ TAA แนะนำว่าควรศึกษาวัฏจักรและความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์นั้น ๆ ให้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับพอร์ตได้อย่างเหมาะสม แต่ในทางกลับกัน หากคุณยังเป็นนักลงทุนมือใหม่ ขาดความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์วัฏจักรสินทรัพย์ การใช้กลยุทธ์ SAA ที่คงสัดส่วนการลงทุนค่อนข้างคงที่ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์
หากคุณเป็นนักลงทุนที่ติดตามตลาดอย่างใกล้ชิด และปรับพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ TAA คือคำตอบที่ตอบโจทย์ แต่หากเป็นคนงานยุ่ง ไม่มีเวลา ไม่ค่อยกล้าตัดสินใจลงทุน หรือเป็นคนที่อยากลงทุนสบาย ๆ ไม่ต้องเกาะติดสถานการณ์การลงทุนตลอดเวลา ได้มีเวลาไปใช้ชีวิตหรือไปทำกิจกรรมที่ชอบ แนะนำว่าเลือกกลยุทธ์ SAA ก็จะเหมาะสมมากกว่า หากคุณเป็นนักลงทุนที่ติดตามตลาดอย่างใกล้ชิด และปรับพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ TAA คือคำตอบที่ตอบโจทย์ แต่หากเป็นคนงานยุ่ง ไม่มีเวลา ไม่ค่อยกล้าตัดสินใจลงทุน หรือเป็นคนที่อยากลงทุนสบาย ๆ ไม่ต้องเกาะติดสถานการณ์การลงทุนตลอดเวลา ได้มีเวลาไปใช้ชีวิตหรือไปทำกิจกรรมที่ชอบ แนะนำว่าเลือกกลยุทธ์ SAA ก็จะเหมาะสมมากกว่า
โดยสรุป การเลือกกลยุทธ์ TAA หรือ SAA ควรพิจารณาจากปัจจัยเรื่องระยะเวลาลงทุน ความรู้ความเข้าใจในวงจรสินทรัพย์ และวิถีชีวิตนักลงทุนที่คุณต้องการ เพื่อเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม ทำให้พอร์ตการลงทุนของคุณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยสรุป การเลือกกลยุทธ์ TAA หรือ SAA ควรพิจารณาจากปัจจัยเรื่องระยะเวลาลงทุน ความรู้ความเข้าใจในวงจรสินทรัพย์ และวิถีชีวิตนักลงทุนที่คุณต้องการ เพื่อเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม ทำให้พอร์ตการลงทุนของคุณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
สนใจวางแผนการเงินและการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ กองทุนในประเทศไทย รวมถึงสินทรัพย์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ นักวางแผนการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิ CFP® จาก Money Adwise ยินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงการบริหารพอร์ตการลงทุน ช่วยคุณวางแผนการเงินให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ บริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลงทะเบียนนัดรับคำปรึกษาครั้งแรกได้ฟรีทางเว็บไซต์ของเรา