ผู้เขียน จิณณรักษ์ เจตน์รังสรรค์ CFP®
วางแผนการซื้อประกันชีวิตไม่รอบคอบ = ภาระทั้งตัวเองและลูกหลานในอนาคต
เพราะชีวิตเป็นเรื่องไม่แน่นอน ดังนั้น เพื่อดูแลคนที่อยู่ข้างหลังให้ได้มากที่สุด การทำประกันชีวิตก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยดูแลด้านค่าใช้จ่าย และอาจทำให้คนข้างหลังมีเงินก้อนเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตได้สักระยะ แต่อย่างไรก็ดี ถึงจะได้รับผลประโยชน์และเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่ดีมากแค่ไหน แต่รู้หรือไม่? หากไม่วางแผนการซื้อประกันให้ครอบคลุม นอกจากจะเสี่ยงไม่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังอาจเพิ่มภาระทางการเงินให้กับตัวเอง และอาจตกเป็นภาระของลูกหลานได้ในอนาคต ถ้าอย่างนั้น เราควรเริ่มวางแผนการซื้อประกันอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ? ที่นี่มีคำตอบ
หลายคนอาจรู้อยู่แล้วว่า ‘ประกันชีวิต’ คือ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทหนึ่งที่จะได้รับผลประโยชน์ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประกันชีวิตนั้นมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งบางประเภทก็จัดเป็นอีกหนึ่งแนวทางด้านการลงทุน ในขณะที่บางประเภทก็สามารถให้ผลประโยชน์กับผู้เอาประกันได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถวางแผนทำประกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เรามาทำความรู้จักประเภทของประกันชีวิตในรูปแบบ “2 - 3 - 4” กันก่อน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ประกันชีวิตในกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ซึ่งเป็นที่มาของเลข “2” ซึ่งอยู่ตัวแรกใน ประกันชีวิตประเภท “2 - 3 - 4” โดยจะแบ่งออกเป็น
Insurance Tips: ตามหลักแล้ว “เงินปันผล” และ “เงินคืน” นั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน และไม่สามารถนำมาใช้เหมือนกันได้ กล่าวคือ “เงินปันผล” จะเป็นเงินที่บริษัทประกันจะปันผลให้ตามผลประกอบการบริษัท ซึ่งหากปีไหนบริษัทมีผลประกอบการมาก ผู้เอาประกันก็จะได้เงินมาก แต่ “เงินคืน” หรือ “เงินคืนรายงวด” จะเป็นเงินที่บริษัทประกัน ‘สัญญา’ มาให้ว่า ในช่วงเวลาที่กำหนด ผู้เอาประกันจะได้รับเงินเท่าไหร่ โดยทั้ง “เงินคืน” และ “เงินคืนรายงวด” จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จาก ‘ทุนประกันภัย’ และกำหนดการจ่ายเป็นงวดตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งหากบริษัทประกันไม่จ่ายเงินในส่วนนี้ตามที่สัญญาไว้ ผู้เอาประกันมีสิทธิ์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายได้ |
หากพิจารณาถึงทุนและเบี้ยประกันเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วจะสามารถแบ่งประกันชีวิตออกได้เป็น 3 ประเภท ประกอบไปด้วย
แต่หากพิจารณาถึงเงื่อนไขในเรื่องของความคุ้มครอง กรมธรรม์ และประโยชน์ของการเอาประกันเป็นหลัก เราจะสามารถแบ่งประเภทของประกันชีวิตออกได้เป็น 4 ประเภท โดยมีรายละเอียดดังนี้
Insurance Tips:
|
จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเพียงอย่างเดียวก็มีให้เลือกหลายประเภท หลายทุนประกันและเบี้ยประกัน ซึ่งนอกจากจะต้องพิจารณาถึงรายละเอียดในกรมธรรม์แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องเช็กให้ดีก่อนซื้อประกันก็คือ ‘รายได้คงเหลือต่อปี’ หรือที่เรียกว่า ‘Surplus ต่อปี’ ของตัวเรา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต (โดยจะประเมินกระแสเงินสดรับ-จ่ายล่วงหน้า) เพราะอย่าลืมว่า หากเราล้มเลิกการจ่ายเบี้ยประกันไปด้วยสาเหตุใดก็ตาม ประกันชีวิตที่ทำมาก็อาจหมดอายุและทำให้ไม่มีใครได้ผลประโยชน์เลยก็ได้ โดยสามารถพิจารณาได้ง่าย ๆ ตามหลัก The Financial Needs Analysis Method ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้
STEP 1 : เช็กภาระทางการเงินตัวเองก่อน
ตรวจสอบภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น รายรับ รายจ่าย หนี้สิน เงินฉุกเฉิน เงินสำรองในทุกกรณี รวมถึงความคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล จากนั้นจึงมาพิจารณาเงื่อนไขในกรมธรรม์ว่ามีการคุ้มครองรายได้เพื่อแบ่งเบาภาระทางการเงินได้อย่างไรบ้าง เช่น หากเกิดเหตุร้ายแรงจนทุพพลภาพและขาดรายได้ ประกันสามารถรับผิดชอบได้อย่างไรบ้าง
STEP 2 : เช็กรายได้ทุกช่องทาง
รายได้ในส่วนนี้ไม่ใช่แค่เงินเดือนหรือเงินบำนาญ แต่ต้องรวมไปถึงรายได้จากแหล่งอื่น ๆ รวมไปถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนทั้งหมด ในขั้นตอนนี้จะทำให้ผู้เอาประกันเห็นภาพรวมของรายได้ตัวเอง และทำให้ตัดสินใจเลือกกรมธรรม์ที่ไม่ขัดต่อสภาพทางการเงินโดยรวมของตัวเองมากนัก
STEP 3 : เลือกทุนประกันที่เหมาะสม
ทุนประกันภัย คือ เงินที่เราจะได้รับจากบริษัทประกันชีวิต ดังนั้น หากทุนประกันไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมรายจ่ายทั้งหมดก็แปลว่าประกันชีวิตตัวที่สนใจอาจยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการได้ โดยทุนประกันที่รองรับสภาพทางการเงินของเราทั้งหมดนั้นจะคำนวณได้จาก
ทุนประกันภัย = หนี้สินทั้งหมด - ทรัพย์สินทั้งหมด
นอกจากวิธีนี้ ผู้เอาประกันยังสามารถคำนวณทุนประกันภัยโดยใช้วิธีทวีคูณรายได้ของตัวเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการคูณระหว่าง 3 - 5 เท่าของรายได้ต่อปี หรือที่หลายคนเรียกว่า “ระยะเวลาปรับตัว” ของคนข้างหลังที่ต้องอยู่โดยไม่มีรายได้จากผู้เอาประกัน หรืออาจนำตัวเลขทวีคูณเป็นจำนวนปีที่สามารถทำงานได้หากยังมีชีวิตอยู่ โดยสามารถนำเข้าสูตรคำนวณ ดังนี้
ทุนประกันภัย = รายได้ต่อปี x ทวีคูณที่ต้องการ
นอกจากทุนประกันภัยต้องสอดคล้องกับรายจ่ายและรายได้ของผู้เอาประกันแล้ว ‘เบี้ยประกันภัย’ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดีเช่นกัน เนื่องจากตัวเบี้ยประกันภัยจะเป็นเงินที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายให้บริษัทประกันในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อรับความคุ้มครอง
โดยความแพงของเบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับจำนวนทุนประกันที่ต้องการ กล่าวคือ หากทุนประกันภัยยิ่งสูง เบี้ยประกันภัยก็จะยิ่งสูงตาม ดังนั้น เพื่อไม่ให้ประกันชีวิตส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน การชำระเบี้ยประกันภัยควรจะอยู่ที่ 10% ของรายได้ทั้งหมดต่อปี ซึ่งหากทำสัญญาประกันชีวิตต่อเนื่องนานกว่า 10 ปีก็สามารถนำค่าเบี้ยประกันภัยนี้ไปลดหย่อนภาษีต่อได้เช่นกัน
Insurance Tips: จริงอยู่ว่าการขาดส่งเบี้ยประกันอาจทำให้ประกันชีวิตหมดสัญญาได้ แต่รู้หรือไม่? ผู้เอาประกันสามารถกู้เงินจากมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์มาจ่ายเบี้ยประกันได้ในกรณีชำระเบี้ยประกันมาแล้ว 2 ปีขึ้นไป โดยการกู้เงินมาจ่ายนี้จะมีดอกเบี้ย 8% หรือแล้วแต่เงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ |
จะเห็นได้ว่า การวางแผนซื้อประกันชีวิตนั้นมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนมากมาย และก็ยากที่จะปฏิเสธว่าเงื่อนไขในกรมธรรม์ของประกันชีวิตแต่ละที่นั้นซับซ้อนจนทำให้ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจนาน ดังนั้น เพื่อช่วยทำให้ชีวิตคุณสะดวกและใช้เวลาไปกับคนที่รักมากขึ้น Money Adwise มาพร้อมกับบริการวางแผนประกันชีวิตโดยผู้เชี่ยวชาญด้านประกันชีวิตที่มีคุณวุฒิการวางแผนการเงินระดับโลก CERTIFIED FINANCIAL PLANNER หรือ CFP โดยสามารถนัดหมายเข้ามาเพื่อปรึกษาวางแผนได้ที่ Line: @MoneyAdwise (มี @ ด้วย)