กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ Provident Fund หนึ่งในสวัสดิการสำคัญที่คนส่วนใหญ่มองหาเมื่อต้องย้ายที่ทำงานใหม่ แต่รู้หรือไม่ ว่าเงินสะสมที่ถูกหักจากเงินเดือนทุกเดือน รวมทั้งเงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ล้วนมีสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องทำการยื่นภาษีทุกครั้งตามกฎหมายที่กรมสรรพากรกำหนด และนี่คือข้อมูลสำคัญของเงินได้และเงินสะสมกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกับการยื่นภาษี ที่วัยทำงานทุกคนต้องรู้
ก่อนจะไปเจาะลึกว่าเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องยื่นภาษีอย่างไร แล้วเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไหม อันดับแรก คนทำงานทุกคนควรต้องเข้าใจความหมายและความสำคัญของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างถ่องแท้เสียก่อน ซึ่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ Provident fund คือกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้จ่ายหลังจากเกษียณอายุ ออกจากงาน หรือทุพพลภาพ ประกอบไปด้วยเงิน 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
เงินสมทบและเงินสะสมจะถูกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนนำไปลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงินฝาก หุ้น ตราสารหนี้ เพื่อให้เงินงอกเงยและกลายเป็นผลประโยชน์ที่จะนำมาเฉลี่ยให้กับสมาชิกทุกคนในกองทุนตามสัดส่วนเงินสะสมที่ฝากไว้
คุณจะสามารถรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ใน 3 กรณี ดังนี้
จากที่กล่าวไปข้างต้น ว่าลูกจ้างจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใน 3 กรณี แต่ถึงแม้ว่าเงินสะสมจะไม่ต้องเสียภาษี แต่เงินส่วนที่เป็นผลประโยชน์และเงินสมทบจากนายจ้างในบางกรณีจะต้องเสียภาษี โดยต้องนำมายื่นภาษีตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
หากอายุครบ 55 ปีและเป็นสมาชิกกองทุนต่อเนื่องขั้นต่ำ 5 ปี เงินผลประโยชน์ทั้งหมดและเงินสมทบจากนายจ้างจะได้รับการยกเว้นภาษี
หากลาออกจากกองทุนแต่ไม่ลาออกจากงาน ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ก็ต้องนำเงินผลประโยชน์ทั้งหมดและเงินสมทบจากนายจ้างมาคำนวณเป็นเงินได้ เพื่อใช้ในการยื่นภาษีประจำปีตามฐานรายได้ที่กรมสรรพากรกำหนด
หากลาออกจากงานแล้วต้องการรับเงินทั้งหมด สามารถนำเงินจากกองทุนมาคำนวณภาษีได้ 2 กรณี ได้แก่
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 500,000 บาท
อยากวางแผนภาษีจากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ลงทะเบียนรับคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินของ Money Adwise ได้ทางเว็บไซต์ ช่วยคุณวางแผนภาษีและการเงินส่วนบุคคลได้ครอบคลุมโดยนักวางแผนการเงินคุณวุฒิ CFP® ปรึกษาครั้งแรก ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ข้อมูลอ้างอิง: