ผู้เขียน รัฐพล วชิรเมฆากุล CFP®
หลาย ๆ คน คงจะเคยได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ตามสื่อต่าง ๆ ถึงเรื่อง “เงินเฟ้อ” ว่าอาจสร้างผลกระทบกับการใช้ชีวิตในหลายด้าน ทำให้นักลงทุนไม่ควรมองข้ามในเรื่องนี้เช่นกัน เพราะไม่เพียงแต่จะเพิ่มความเสี่ยงให้กับทุกแง่มุมของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องค่าใช้จ่ายและการเงินส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ “เงินเฟ้อ” ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ทุกการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนต่างประเทศหรือไทย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แล้วนักลงทุนควรวางแผนและจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร ลองมาพิจารณา 3 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับเงินเฟ้อและการลงทุนที่ Money Adwise นำมาฝากกัน
การวางแผนรับมือปัญหาได้อย่างตรงจุด ต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาที่ถูกต้องเสียก่อน ดังนั้น ก่อนที่จะไปเริ่มวางแผนจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อ ลองมาใช้เวลาสั้น ๆ ทำความรู้จักถึงความหมายของเงินเฟ้อ รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการลงทุนกันดูก่อน
เงินเฟ้อ (Inflation) คือ สภาวะที่สิ่งของต่าง ๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือ บริการ มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้คนมีรายจ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหากไม่มีนโยบายเศรษฐกิจใด ๆ เข้ามาช่วยแก้ไข รายจ่ายที่เกิดขึ้นก็อาจขยับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนมากกว่ารายรับก็เป็นได้
นอกจากนี้ เงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงมูลค่าของค่าเงินที่ลดลง เนื่องจากเงินที่อยู่ในมือมีอำนาจในการซื้อของที่น้อยลง เช่น ปีที่แล้วข้าวราดแกงจานละ 50 บาท พอมาปีนี้ข้าวราดแกงเมนูเดียวกันจากร้านเดิมขึ้นราคาเป็น 55 บาท แสดงว่า 1 ปีที่ผ่านมามีเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึง 10% เลยทีเดียว
นอกจากจะดูจากราคาสินค้าและบริการทั่วไปแล้ว ทุกคนยังสามารถติดตามและวัดอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อได้จาก 3 ตัวแปรหลัก ที่ประกอบไปด้วย
นอกจากทั้ง 3 ตัวแปรเบื้องต้นที่อธิบายไปแล้ว นักลงทุนยังต้องพิจารณาถึงสาเหตุของเงินเฟ้อก่อนจัดพอร์ตการลงทุนด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เงินเฟ้อสามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 เหตุผล คือ
เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของประชาชนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงของการลงทุนลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งผลตอบแทนที่แท้จริงนี้สามารถคำนวณได้จากสูตร ดังนี้
จะเห็นได้ว่า การลงทุนในยุคเงินเฟ้อ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนต่างประเทศ ในไทย หรือแม้แต่การออมเงินในธนาคาร ย่อมต้องมีการนำอัตราเงินเฟ้อมาหักลบด้วยเช่นกัน หากใครยังนึกภาพไม่ออกว่าผลตอบแทนการลงทุนที่แท้จริงจะลดลงอย่างไร ลองพิจารณาตัวอย่างง่าย ๆ ดังนี้
ตัวอย่าง:
หากนาย Money ลงทุนในสินทรัพย์ A ที่ให้ผลตอบแทน 2% ต่อปี และมีอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันอยู่ที่ 3%
ดังนั้น ผลตอบแทนการลงทุนที่แท้จริงของนาย Money = 2% - 3% หรือคิดเป็น -1%
จากผลลัพธ์จะเห็นได้ว่า ผลตอบแทนที่นาย Money ได้รับยังไม่เพียงพอที่จะต่อกรกับเงินเฟ้อได้ จึงต้องวางแผนจัดพอร์ตการลงทุนใหม่เพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าอัตราเงินเฟ้อแทน
นอกจากจะจัดพอร์ตการลงทุนใหม่เพื่อสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่แท้จริงให้สูงกว่าเงินเฟ้อเหมือนตัวอย่างของนาย Money แล้ว นักลงทุนยังควรติดตามข่าวสารและนโยบายของภาครัฐอย่างใกล้ชิด รวมถึงกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายเพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง ไปพร้อมกับขยายพอร์ตการลงทุน
อย่างไรก็ดี การจัดพอร์ตลงทุนที่หลากหลายนี้ไม่ได้เป็นการเลือกสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงในช่วงเงินเฟ้อเท่านั้น แต่นักลงทุนควรมีกลยุทธ์ที่เหมาะสม ตลอดจนเลือกสินทรัพย์ที่ผ่านการศึกษารายละเอียด เงื่อนไข ความเสี่ยงที่รับไหว และผลตอบแทนย้อนหลังมาเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันความผันผวนแฝงในรูปแบบต่าง ๆ
หลังจากที่รู้จักเงินเฟ้อในแง่มุมต่าง ๆ รวมไปถึงแนวทางการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อแล้ว หลายคนคงเริ่มสงสัยแล้วว่า ควรจะลงทุนในสินทรัพย์ใด เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใครสงสัยเช่นเดียวกันนี้อยู่ ลองมาพิจารณาถึง 4 สินทรัพย์ที่นำมาฝาก ดังนี้
1.ทองคำ
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มักมีราคาซื้อขายสูงขึ้นในช่วงเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี การซื้อทองคำมาเก็บไว้อาจทำให้นักลงทุนต้องเสียค่าธรรมเนียมการผลิตทองได้
ดังนั้น นักลงทุนจึงควรเลือกลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดต้นทุนในส่วนนี้ลง เช่น กองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (ETF), Gold Futures และการเทรดทองคำ
2. พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ
พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ เช่น Inflation Linked Bond (ILB) และ Treasury Inflation-Protected Securities (TIPS) เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนได้ตามการเปลี่ยนแปลงของดัชนีอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร ส่วนชดเชยเงินเฟ้อบนดอกเบี้ย และส่วนชดเชยเงินเฟ้อบนเงินต้น
3. หุ้นและกองทุนปันผล
หุ้นและกองทุนปันผลเป็นการลงทุนที่นักลงทุนจะได้รับเงินปันผลตอบแทนตามเงื่อนไขที่ตกลง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้นักลงทุนมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอในช่วงเงินเฟ้อ
เช่น กองทุน REITs (Real Estate Investment Trust) คือ กองทุนที่เข้าไปจัดการบริหารอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างรายได้ต่อเนื่อง จากนั้นจึงนำผลกำไรที่ได้มาปันผลให้นักลงทุน ซึ่งจะมีให้เลือกลงทุนแบบ Freehold และ Leasehold ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นมา
4. ตราสารหนี้ระยะสั้น
สำหรับการลงทุนต่างประเทศ ตราสารหนี้ระยะสั้น คือ ตราสารหนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ในขณะที่ประเทศไทย ตราสารหนี้ระยะสั้นจะมีอายุต่ำกว่า 1 ปี
การลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้นมีข้อดีในเรื่องต้นทุนในการลงทุนที่น้อยกว่าการลงทุนหลาย ๆ ประเภท ซึ่งเหมาะสมสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเริ่มต้นลงทุนในยุคเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ดี การจัดพอร์ตการลงทุนในช่วงเงินเฟ้อยังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาอีกหลายด้าน อีกทั้งยังควรออกแบบแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ ซึ่งทุกคนสามารถลงทุนได้อย่างตอบโจทย์และลงตัวที่ Money Adwise ด้วยบริการจัดพอร์ตลงทุนที่มีความเหมาะสม ทั้งลงทุนต่างประเทศและไทยเพื่อผลตอบแทนที่เป็นไปตามเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ ปรึกษาครั้งแรกไม่มีค่าใช้จ่าย